วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ก้อสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับการใช้ภูไมท์

การใช้ภูไมท์
1.ใช้ฉีดพ่นทำให้พืชแข็งแรงต้านทานโรคแมลง
ใช้ได้ทั้งอย่างผงและอย่างเม็ด ประมาณ 200 – 300 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันหมด กรอง
ตะกอน(ใช้นำไปใส่ต้นไม้อื่นได้) ฉีดพ่นให้เปียกทั่วทุกส่วน ซึ่งจะทำให้ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้ (หรือ-
ซิลิซิค แอซิค ,โมโนซิลิค แอซิค,หรือโซลูเบิ้ล ซิลิก้า) ซึมเข้าไปในเซลผนังพืชที่มีชีวิต แล้วตกผลึกเป็น
ซิลิก้าที่ละลายน้ำไม่ได้ โดยจะทำให้เซลส์พืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลส์ของพืชแข็งแกร่งขึ้น จนเพลี้ย
หนอน ไร รา เข้าไปทำลายได้ยาก

2. ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก เพื่อให้พืชที่จะปลูกสามารถดูดกินซิลิก้าที่มีอยู่ในภูไมท์ได้ทันทีที่เริ่มดูดกินอาหาร

3. ใช้คลุกกับปุ๋ย หว่านพร้อมปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้นคลุกเคล้ากับภูไมท์ 1 ส่วน

4. การคลุกเมล็ด ใช้เมล็ดข้าวโพดที่แช่น้ำมาก่อน, เมล็ดข้าวที่หุ้มพอเริ่มงอก,เมล็ดพืชอื่น ๆที่จะปลูก, เอาขึ้นมาทิ้งให้สะเด็ดน้ำ,ยังพอชื้น ๆอยู่ จำนวน 5 ส่วน. เอามาคลุกผสมภูไมท์ 1 ส่วน, แล้วจึงนำไปปลูกตามปรกติ กล้าที่งอกออกมาจะแข็งแกร่งต้านทานต่อเพลี้ย หนอน ไร ราและหอยได้ดีขึ้น.

5. การใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้ภูไมท์ 1 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน, คลุกผสมแล้วหว่าน กระจายลงผิวดินที่ปลูกพืช, จะได้ผลของภูไมท์ตามที่ต้องการ, ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้ดินดีขึ้นจากการมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้นด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภูไมท์ซัลเฟต 2

4.ใช้คลุกปุ๋ยใส่พร้อมกับปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วนพรมน้ำพอชื้น แล้วเอาภูไมท์ผง, หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ผง,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดผง 1 ส่วนคลุกผสมให้ผงติดเม็ดปุ๋ยทุกเม็ด ช่วยทำให้ปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. ถ้าใส่ปุ๋ยด้วยเครื่องหยอดปุ๋ยให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์ หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ชนิดเม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดเม็ดคลุกผสมปุ๋ยแล้วใส่ในเครื่องหยอดซึ่งจะหยอดไปพร้อมกับปุ๋ย ใช้ 1 ส่วนต่อปุ๋ย 5 ส่วน
5.กลไกทำให้พืชแข็งแกร่ง ภูไมท์,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์,ซีโอไลท์คาซัคสถานและไคลน็อพติโลไลท์ เมื่อลงดิน เปียกน้ำจะปลดปล่อยซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ออกมา ถูกพืชดูดไปพร้อมกับน้ำ. น้ำระเหยออกทางเซลผิวแต่ซิลิก้าไม่ระเหย สะสมมากขึ้นทุกทีจนตกผลึกเป็นโอปอล,ควอร์ทซ์ อยู่ตามผนังเซล,และผิวเซล แม้จะเป็นอนุภาคเล็กมากจนจะเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์อีเล็กตรอน, แต่ก็นับว่าเพียงพอที่จะทำให้ปากเพลี้ย และไร เจาะผิวพืชไม่สะดวก, หนอนวัยหนึ่งกัดพืชแล้วฟันจะสึกจนกัดพืชไม่ได้ ไส้เดือนฝอยเข้าพืชไม่ได้ ราเจริญไม่สะดวก. การดูดน้ำขึ้นทางรากอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใบอ่อนมีการสะสมซิลิกาที่ผิวได้อย่างรวดเร็ว.
6.ลดการสูญเสียปุ๋ย ปรกติปุ๋ยเคมีที่ขายในไทยถูกกำหนดให้ละลายทันทีทั้ง 100 % ดังนั้นถ้าฝนตกมาก, รดน้ำมาก ปุ๋ยละลายออกมาหมด, เมื่อน้ำไหลไปที่อื่นก็พาปุ๋ยไปด้วย ประมาณว่าปุ๋ยอาจถูกชะพาไปถึง 90 % พืชได้ใช้เพียง 10 % แต่เมื่อใส่สารกลุ่มนี้ สารจะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (แค็ทไออ้อนเอ๊กซ์เช้นจ์คาพาซิตี้) ที่สูงมาก. จะจับปุ๋ยประจุบวกไว้ทั้งแอมโมเนียม และโปแตสเซียมให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ถึง 90% และถูกชะพาไปกับน้ำสูญเปล่าเพียง 10 %
7.ทำลายสารพิษในดินและในน้ำ สารพิษตกค้างที่มีผลในการลดการเจริญของพืชมักเป็นสารกำจัดวัชพืช เมื่อใส่ภูไมท์หรือสารในกลุ่มนี้แล้วสารพิษจะถูกทำลายหรือถูกจับตรึงจนออกฤทธิ์ไม่ได้ แม้สารชะลอการเติบโตชองพืช เช่น สารพาโคลบิวทราโซลที่ตกค้างในดินก็ถูกทำลายเช่นกัน จึงทำให้พืชโตดีเป็นปรกติ
8.ช่วยปรับ C:N ratio ให้พืช ดินที่มีไนโตรเจนตกค้างมาก,ละลายน้ำง่าย พืชดูดง่าย ทำให้เจริญทางใบมาก หรือเผือใบ เป็นโรคง่าย ออกดอกยาก ผลแก่ช้า รสฝาด หรืออมเปรี้ยว. ถ้าหว่านภูไมท์หรือไคลน็อพติโลไลท์หรือสารในกลุ่มนี้จะจับไนโตรเจนไว้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า พืชดูดไนโตรเจนได้น้อยลง ทำให้ซีเอ็น เรโช กว้างขึ้น พืชมีสัดส่วนคาร์โบฮัยเดรทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ออกดอกง่าย และผลผลิตคุณภาพดีขึ้น ลดอาการเผือใบได้มาก.
9.เพิ่มคุณภาพผลผลิต จาการมีซิลิก้าที่ผิวพืชมากขึ้นทำให้พืชผัก แข็ง กรอบ อร่อยขึ้น เก็บรอการขายได้นานขึ้น ช้ำน้อย คุณภาพสูงขึ้นแทบทุกด้าน ยกเกรดของสินค้าให้สูงขึ้น ราคาก็ดีขึ้นด้วย. แม้ผลไม้ก็มีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน.
10.ลดแมลงและไส้เดือนฝอยในดิน ใช้ภูไมท์หว่านบาง ๆลงบนดินบริเวณที่มีมด ปลวก เสี้ยนดิน ตัวอ่อนของด้วง หมัดกระโดด ไส้เดือน ไส้เดือนฝอย หอยบก ก็จะลดศัตรูพืชเหล่านี้ให้ลดน้อยลงจนไม่เกิดปัญหาอีก.
11.กรณีที่ใช้ภูไมท์มากเกินไป เนื่องจากภูไมท์และสารในกลุ่มมีคุณสมบัติในการจับปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. ถ้าใส่ลงดินมากเกินไปจะจับปุ๋ยมากจนไม่พอใช้สร้างความเจริญเติบโตปรกติของพืช. พืชจะแสดงอาการขาดไนโตรเจนมีอาการเหลืองซีด. แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น 46-0-0, 21-0-0, 5-0-0 เป็นต้น ใส่ปุ๋ยและรดน้ำ พืชก็กลับเขียวขึ้นตามเดิม.
12.การใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้ภูไมท์ 1 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน, คลุกผสมแล้วหว่าน กระจายลงผิวดินที่ปลูกพืช, จะได้ผลของภูไมท์ตามที่ต้องการ, ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้ดินดีขึ้นจากการมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้นด้วย.
13.การคลุกเมล็ด ใช้เมล็ดข้าวโพดที่แช่น้ำมาก่อน, เมล็ดข้าวที่หุ้มพอเริ่มงอก,เมล็ดพืชอื่น ๆที่จะปลูก, เอาขึ้นมาทิ้งให้สะเด็ดน้ำ,ยังพอชื้น ๆอยู่ จำนวน 5 ส่วน. เอามาคลุกผสมภูไมท์ 1 ส่วน, แล้วจึงนำไปปลูกตามปรกติ กล้าที่งอกออกมาจะแข็งแกร่งต้านทานต่อเพลี้ย หนอน ไร ราและหอยดีขึ้น.
14.ใช้จับกลิ่นเหม็นจากคอกสัตว์ หว่านซีโอไลท์-สเม็คไทต์ลงบนพื้นคอกและหว่านทับลงบนมูลสัตว์,กลิ่นมูลสัตว์ก็จะถูกจับตรึงไว้จนหมดกลิ่นเหม็น,หว่านเพิ่มเติมอีกเมื่อมีมูลสัตว์เพิ่ม และเริ่มมีกลิ่นอีก. มูลสัตว์เหล่านี้เมื่อนำไปใช้บำรุงดินก็เป็นปุ๋ยที่ดีเป็นพิเศษคือ ไม่มีหนอนและทำให้พืชแข็งแรงโดยไม่ต้องพ่นสารพิษทางการเกษตรอีกด้วย.
15.ใช้ทำลายสารพิษตกค้างในอาหารสัตว์ ผสมภูไมท์ผง 3 ส่วนลงในอาหารสัตว์ 97 ส่วน,ให้สัตว์กินตามปรกติ อัตราการตายของ หมู เป็ด ไก่ ลดลง,มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น. เพราะภูไมท์ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างอยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้หมดพิษไป. ผลพลอยได้คือมูลสัตว์ก็มีกลิ่นเหม็นน้อยลง.
16.ใช้เพิ่มผลผลิตเห็ด ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไตท์ชนิดผง 3 ส่วน, ผสมในขี้เลื่อยหรือวัสดุดิบเพาะเห็ด 97 ส่วน ไม่ต้องใช้จิบซั่มและปูนขาว นำไปเพาะเห็ดตามปรกติ. ส่วนในเห็ดฟางกองเตี้ยนั้นเมื่อเมื่อทำกองเสร็จ ครั้งสุดท้ายแล้ว , ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไตท์ผง 200-300 กรัม

ภูไมท์ซัลเฟต 1

การใช้ ภูไมท์,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์,ซีโอไลท์คาซัคสถาน, ไคลน็อพติโลไลท์และซิลิสิต แอซิด ทางการเกษตร
หินเดือด(ซีโอไลท์) เกิดขึ้นขณะภูเขาไฟพ่นลาวาออกมา ทั้งแบบการระเบิดแบบเขากระโดง ที่บุรีรัมย์,และแบบลาวาไหลออกมาแบบเขาฝาละมี,เขาพนมฉัตร ที่จังหวัดลพบุรี (เมื่อ 22 ล้านปีก่อน). ทำให้มีหินเดือด,หินเบาที่มีโครงสร้างภายในเป็นอลูมิโนซิลิเกตที่มีรูพรุนมากจากการระเหิดไปของน้ำและก๊าซต่าง ๆ ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ลดความดันลงฉับพลันและเย็นลงทันที. รูพรุนเหล่านี้ให้พื้นที่ผิวมากมายมหาศาลต่อหน่วยเล็ก ๆของหินเดือด. พื้นที่แต่ละแห่งซึ่งเกิดภูเขาไฟ มีความแตกต่างด้านหินและแร่ธาตุอย่างมากมาย ทำให้มีซีโอไลท์ซึ่งมีโครงสร้างและส่วนประกอบต่างกันไปมากกว่า 50 อย่าง. ที่ได้ขุดขึ้น บด อัด ร่อนแยก, นำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรแล้วในประเทศไทยก็คือภูไมท์ผง,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ผงและปั้นเม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งผงและเม็ด(เป็นเนื้อโมเดนไนท์)และไคลน็อพติโลไลท์ชนิดปั้นเม็ด. กับที่สกัดแยกมาเฉพาะสารออกฤทธิ์ที่สร้างความแข็งแรงในพืชคือ ซิลิสิค แอซิด การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ของสารดังกล่าวในกลุ่มนี้มีดังนี้.
1.ใช้ฉีดพ่นเพื่อทำให้พืชแข็งแรง ใช้ภูไมท์ผง,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ทั้งผงและเม็ด, ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งอย่างผงและอย่างเม็ด,ไคลน็อพติโลไลท์เม็ดประมาณ 200-300 กรัมละลายในน้ำ 20 ลิตร, กวนให้ละลายหมด,กรองแยกตะกอนไปใส่ต้นไม้,เอาแต่น้ำมาฉีดพ่นพืชให้เปียกทั่วถึงทุกส่วน.หรือให้ซิลิสิค แอซิด 5-10 กรัมละลายน้ำ 20 ลิตร พ่นให้เปียกทั่วพืชฉีดเพียงรอบเดียว. ต้องทดสอบก่อนว่าจะทำให้เกิดใบไหม้หรือเปล่า. ถ้ามีปัญหาให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์ 200-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรแทน การทำดังนี้ทำให้ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้(หรือซิลิซิค แอซิด,หรือ โมโนซิลิค แอซิด,หรือโซลูเบิ้ล ซิลิก้า) ซึมเข้าในเซลพืชที่มีชีวิต แล้วตกผลึกเปลี่ยนรูปเป็นซิลิก้าที่ละลายน้ำไม่ได้, ทำให้เซลผิวพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลแข็งแกร่ง จนเพลี้ย หนอน ไร รา เข้าทำอันตรายได้ยาก. ซึ่งหนอนวัยหนึ่งจะกัดพืชแล้วฟันสึกจนกินพืชไม่ได้ เพลี้ยและไรจะใช้ปากแทงพืชไม่เข้า ส่วนราจะเจริญได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพืชเจริญต่อไปคือมียอดและใบอ่อนหรือส่วนอื่นเจริญออกมาอีก,ส่วนนี้จะขาดซิลิก้าที่ช่วยคุ้มครอง เพราะไม่มีการเคลื่อนย้ายซิลิก้าจากที่ฉีดพ่นไปคราวก่อนเนื่องจากแปรรูปไปแล้ว ถ้ายังใช้วิธีเดิมก็จะต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ แม้จะเป็นผลดี แต่ก็สิ้นเปลืองแรงงานที่มาฉีดพ่นนี้. การใส่สารปลดปล่อยซิลิก้าลงทางดินจะประหยัดแรงงานได้มากกว่า.ส่วนวิธีฉีดพ่นนั้นถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า.เนื่องจากพอฉีดพ่นเสร็จไม่กี่นาทีก็ป้องกันเพลี้ย หนอน ไร รา ได้ทันที, แต่ป้องกันใบที่แตกใหม่ภายหลังไม่ได้.
2.ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก เพื่อให้พืชที่จะปลูกบนดินได้รับซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ทันทีตั้งแต่เริ่มดูดน้ำหรือเริ่มการเจริญ,หรือเริ่มงอก ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ หรือซีโอไลท์คาซัคสถาน หรือไคลน็อพติโลไลท์ หว่านลงผิวดินแล้วพรวนกลบ, หรือหว่านในนาที่ทำเทือกเสร็จแล้วจึงหว่านสาร,ลูบหรือคราดให้จมแล้วจึงหว่านเมล็ด, หรือใส่รองก้นหลุม เคล้ากับดิน หินฟอสเฟต ปุ๋ยอินทรีย์ แล้วจึงปลูกพืชหรือหยอดเมล็ด.
3.ใส่หลังปลูก ใช้วิธีโรยเป็นแถวข้าง ๆ ต้น เช่นข้าวโพด หรือหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มต้นของพืช พืชผักต้นเล็กปลูกติดกันแน่นให้หว่านด้วยชนิดเม็ด เช่น ซีโอไลท์-สเม็คไทต์เม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดเม็ดหรือไคลน็อพติโลไลท์ชนิดเม็ดเป็นต้น.

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552


บริษัท ห้าดาวเคมีภัณฑ์ จำกัด สาขาพิษณุโลก


ผู้จัดจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพราะผลิตโดยมาตรฐาน ISO 14001:2004 ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการนำไปใช้ ด้วยความรับผิดชอบต่อเกษตรกรเสมอมาตามคำขวัญของบริษัทฯที่ว่า ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดมลพิษ เพิ่มกำไร คืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน

สารปรับปรุงดินที่ทางสาขาจัดจำหน่าย


สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรนาข้าวตรารวงทอง
ผสมไคโตซานและฮอร์โมนสาหร่ายบลู-ซีี




สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรพิเศษใช้กับพืชได้ทุกชนิดตรารวงทอง
ผสมไคโตซาน และฮอร์โมนสาหร่ายบลู-ซี




ปุ๋ยอินทรีย์สูตรนาข้าวตราห้าดาวแดง





สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรพิเศษตราห้าดาวแดง






แร่ธาตุที่สำคัญในการผลิต
  • โดโลไมท์ มีแร่ธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับโครงสร้างดิน ทำให้ดินมีลักษณะฟู ทำให้พืชดึงธาตุอาหารที่มีอยู่บนดิน และ
    ในดินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในการตรึงธาุตุอาหารหลักซึ่ง
    ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารตามธรรมชาติได้อีกด้วย
  • ซีโอไลท์ มีแร่ธาตุซิลิกอน เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยให้ผนังเซลส์ของพืชแข็งแรงขึ้น ทำให้พืชมีความต้านทานโรคแมลง

  • ฮิวมัส ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากซากพืชและสัตว์ มีองค์ประกอบของไฟเบอร์และมี
    ปริมาณของอินทรีย์สารสูง เมื่อนำไปใส่ในดินจะเพิ่มปริมาณอินทรีย์สารที่มีอยู่
    ในดินให้สูงขึ้น
  • ฟอสเฟต(มูลค้างคาว)
    มีแร่ธาตุอาหารหลักประเภทฟอสฟอรัส ซี่งช่วยให้การเจริญเติบโตของรากฝอย
    และรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต และมีส่วนช่วยในการติดดอกออกผล
    ของพืช

    สนใจสอบถามรายละเอียด 085-9248403 วัชระ







ใหม่ สารปรับปรุงดินสูตรยางพาราตราห้าดาวแดง
ช่วยให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย เพิ่มประมาณน้ำยาง