วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปุ๋ยอินทรีย์เคมี














ทุกสูตรเต็มน้ำหนัก เต็มสูตรผ่านการตรวจสอบของกรมวิชาการเกษตรแล้ว จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ
สอบถามรายละเอียด 085-9248403 อู๋

ปุ๋ยเคมีตราห้าดาวแดงมีจำหน่ายแล้ว


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบธาตุอาหาร ระหว่าง ยูเรีย กับ 30

เรามาดูความหมายของสูตรปุ๋ยกันก่อนนะครับเรามาดูความหมายของสูตรปุ๋ยกันก่อนนะครับ
46-0-0 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 46 ส่วน
30-0-0 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 30 ส่วน
18-4-5 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 18 ส่วน
มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 4 ส่วน
และ มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 5 ส่วน
เมื่อทราบความหมายแล้วเราลองมาคำนวนธาตุอาหารที่มีอยู่ในกระสอบกันครับ
ในที่นี้จะลองคำนวนปุ๋ย 30-0-0 จากแม่ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) กันนะครับ(ง่ายดี)
จากสูตร น้ำหนักxสูตรธาตุอาหารที่ต้องการ/สูตรแม่ปุ๋ย ก็จะได้ดังนี้
( คิดจากปุ๋ย 1 กระสอบก่อนนะครับ)
50x30/46 = 32.61
ก็หมายความว่า ในปุ๋ย 30-0-0 1 กระสอบ จะมีแม่ปุ๋ยยูเรียอยู่ 32.61 กก.
ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบราคากันนะครับโดยเอา ราคา/จำนวนธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
สมมุติราคายูเรีย อยู่ที่กระสอบละ 630.-บาท และ 30-0-0 อยู่ที่กระสอบละ 480 บาทนะครับ
630/46 = 13.70 บาท
480/30 = 16 บาท

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในปุ๋ยยูเรียมีราคาถูกกว่าถึง กก.ละ 3.30 บาท
ฉะนัี้้น ราคาของ 30-0-0 มีราคาแพงกว่าถึงกระสอบละ 3.30x50 = 165 บาท
คิดดูละกัน

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาการขาดธาตุอาหารของพืช

ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีน ฮอร์โมน คลอโรฟิลล์ ไวตามินและเอนไซม์ ซึ่งทั้งหมดจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช กระบวนการ metabolize ของไนโตรเจนทำให้เกิดการพัฒนาในส่วนของต้นและใบ และการมีปริมาณไนโตรเจนที่มากเกินไปสามารถยืดระยะการออกดอกและการสุกแก่ของผลออกไป หากพืชขาดไนโตรเจนผลผลิตจะลดลง ใบเหลือง การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
ฟอสฟอรัส มีความสำคัญอย่างมากต่อการงอกของเมล็ด กระบวนการสังเคราะห์แสง การสร้างโปรตีน และยังควบคุมภาพโดยรวมของการพัฒนาการเจริญเติบโตและกระบวนการ metabolism หน้าที่สำคัญคือการพัฒนาการฟอร์มดอกและผล อาการขาดสังเกตจากลำต้นและใบเปลี่ยนเป็นสีม่วง ความสุกแก่ช้าออกไป คุณภาพดอกและผลไม่ดี ผลและดอกอาจร่วงหรือไม่พัฒนา การให้ฟอสฟอรัสควรใส่ตรงไปที่บริเวณใกล้รากพืช ระวังการให้ฟอสฟอรัสมากเกินไป เพราะอาจกดให้พืชแสดงอาการขาดสังกะสี
โปแทสเซียม จำเป็นต่อการสร้างน้ำตาล แป้ง การสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งเซลรากและส่วนอื่นๆ โปแทสเซียมเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของน้ำ ความแข็งแรงของพืช และมีผลต่อสีและรสชาติของผักผลไม้ เพิ่มปริมาณน้ำมันในผลไม้ หากขาดโปแทสเซียม พืชจะให้ผลผลิตต่ำ ใบมีจุด ม้วนงอหรือมีรอยไหม้

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปุ๋ยสั่งตัด

ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร?

การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืช ที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ คำแนะนำปุ๋ยแบบ “สั่งตัด” จะมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และ ชุดดินมโนรมย์ไม่เท่ากันแม้ปริมาณ เอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน กรณีของข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ของชุดดินปากช่อง จ. นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ. ลพบุรี เป็นต้น

การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว และ ข้าวโพดได้อย่างไร และ เท่าใด?

จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง ที่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอีกหลายแห่ง พบว่า ชาวนาใส่ปุ๋ย เอ็น และ พี ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของต้นข้าว และ ละเลยการใส่ปุ๋ย เค เมื่อเกษตรกรทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง 241 บาท (เมื่อคิดราคาปุ๋ยเดือนมกราคม 2550) ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาท รวมต้นทุนการปลูกข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก ถ้าชาวนาภาคกลางในพื้นที่ 10 ล้านไร่ (ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง) ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” จะทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนชาวไร่ข้าวโพดจะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 และ ผลตอบแทนสูงขึ้นอีกร้อยละ 41 เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หน้าที่ของธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันไป และถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะแสดงอาการที่แตกต่างกันตามแต่ชนิดของธาตุอาหารที่ขาดแคลนนั้น
ไนโตรเจน มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ
ฟอสฟอรัส มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของราก ควบคุมการออกดอก ออกผล และการสร้างเมล็ด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วง ลำต้นแกร็นไม่ผลิดอกออกผล
โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี
แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี
แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว
กำมะถัน เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน ถ้าขาดธาตุนี้ทั้งใบบนและใบล่างจะมีสีเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ
โบรอน ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์ ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปราะ
ทองแดง ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง และพืชทั้งต้นจะชะงักการเจริญเติบโต
คลอรีน มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีด และบางส่วนแห้งตาย
เหล็ก ช่วย ในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงและหายใจ ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขียวสด
แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่น
โมลิบดินัม ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะมีอาการคล้ายขาดไนโตรเจน ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย ปรากฏจุดเหลืองๆ ตามแผ่นใบ
สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุอาหารในดินไปใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วนถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน
ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุดดินจะกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ในการปลูกพืชจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

วัตถุดิบของเราลดต้นทุนได้กว่าครึ่ง

บทคัดย่องานวิจัย
ดินในเขตแห้งแล้งจะมีเนื้อดินเป็นดินทราย และมีหน้าดินตื้น การสูญเสียธาตุอาหารซึ่งเกิดจากการชะล้าง ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การปรับปรุงคุณภาพของดินโดยการเพิ่มธาตุอาหารและวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อยกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารปรับปรุงดินเข้าร่วมด้วย ดังนั้นจึงได้ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์อัตราต่างๆ ต่อประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีกับต้นยางหลังเปิดกรีดในเขตแห้งแล้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ใน การเพิ่มผลผลิต ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการทดลองเดือนมิถุนายน 2542-กรกฎาคม 2546 กับต้นยางพันธุ์ RRIM 600 ที่เปิดกรีดในสภาพดินร่วนเหนียวปนทราย วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 8 กรรมวิธี คือปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1, 2 และ 3 กก./ต้น/ปี ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 3 กก./ต้น/ปี ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ปุ๋ยอินทรีย์ครึ่งอัตราแนะนำร่วมกับสารปรับปรุงดินและปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กก.ต้น/ปี โดยเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ ผลการทดลอง ปรากฏว่า ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กก/.ต้น/ปี เป็นอัตราที่ทำให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอัตราอื่น ๆ ตลอดการทดลองและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนจากการใส่ปุ๋ย โดยนำผลผลิตที่ได้ไปวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ (500 กรัม/ต้น/ปี) ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น/ปี มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุดและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน คือให้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (MRR) เท่ากับหรือมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นอัตราที่ควรแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่เขตแห้งแล้งใช้ต่อไป

เรื่อง อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์อัตราต่าง ๆ ต่อประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี
กับต้นยางหลังเปิดกรีดในเขตแห้งแล้ง
โดย : โสภา โพธิวัตถุธรรม
พิเชษฐ์ ไชยพานิชย์
อนุสรณ์ แรมลี
ศูนย์วิจัยยางสงขลา / กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง ,สถาบันวิจัยยาง

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ก้อสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับการใช้ภูไมท์

การใช้ภูไมท์
1.ใช้ฉีดพ่นทำให้พืชแข็งแรงต้านทานโรคแมลง
ใช้ได้ทั้งอย่างผงและอย่างเม็ด ประมาณ 200 – 300 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันหมด กรอง
ตะกอน(ใช้นำไปใส่ต้นไม้อื่นได้) ฉีดพ่นให้เปียกทั่วทุกส่วน ซึ่งจะทำให้ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้ (หรือ-
ซิลิซิค แอซิค ,โมโนซิลิค แอซิค,หรือโซลูเบิ้ล ซิลิก้า) ซึมเข้าไปในเซลผนังพืชที่มีชีวิต แล้วตกผลึกเป็น
ซิลิก้าที่ละลายน้ำไม่ได้ โดยจะทำให้เซลส์พืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลส์ของพืชแข็งแกร่งขึ้น จนเพลี้ย
หนอน ไร รา เข้าไปทำลายได้ยาก

2. ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก เพื่อให้พืชที่จะปลูกสามารถดูดกินซิลิก้าที่มีอยู่ในภูไมท์ได้ทันทีที่เริ่มดูดกินอาหาร

3. ใช้คลุกกับปุ๋ย หว่านพร้อมปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วน พรมน้ำพอชื้นคลุกเคล้ากับภูไมท์ 1 ส่วน

4. การคลุกเมล็ด ใช้เมล็ดข้าวโพดที่แช่น้ำมาก่อน, เมล็ดข้าวที่หุ้มพอเริ่มงอก,เมล็ดพืชอื่น ๆที่จะปลูก, เอาขึ้นมาทิ้งให้สะเด็ดน้ำ,ยังพอชื้น ๆอยู่ จำนวน 5 ส่วน. เอามาคลุกผสมภูไมท์ 1 ส่วน, แล้วจึงนำไปปลูกตามปรกติ กล้าที่งอกออกมาจะแข็งแกร่งต้านทานต่อเพลี้ย หนอน ไร ราและหอยได้ดีขึ้น.

5. การใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้ภูไมท์ 1 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน, คลุกผสมแล้วหว่าน กระจายลงผิวดินที่ปลูกพืช, จะได้ผลของภูไมท์ตามที่ต้องการ, ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้ดินดีขึ้นจากการมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้นด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภูไมท์ซัลเฟต 2

4.ใช้คลุกปุ๋ยใส่พร้อมกับปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วนพรมน้ำพอชื้น แล้วเอาภูไมท์ผง, หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ผง,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดผง 1 ส่วนคลุกผสมให้ผงติดเม็ดปุ๋ยทุกเม็ด ช่วยทำให้ปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. ถ้าใส่ปุ๋ยด้วยเครื่องหยอดปุ๋ยให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์ หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ชนิดเม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดเม็ดคลุกผสมปุ๋ยแล้วใส่ในเครื่องหยอดซึ่งจะหยอดไปพร้อมกับปุ๋ย ใช้ 1 ส่วนต่อปุ๋ย 5 ส่วน
5.กลไกทำให้พืชแข็งแกร่ง ภูไมท์,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์,ซีโอไลท์คาซัคสถานและไคลน็อพติโลไลท์ เมื่อลงดิน เปียกน้ำจะปลดปล่อยซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ออกมา ถูกพืชดูดไปพร้อมกับน้ำ. น้ำระเหยออกทางเซลผิวแต่ซิลิก้าไม่ระเหย สะสมมากขึ้นทุกทีจนตกผลึกเป็นโอปอล,ควอร์ทซ์ อยู่ตามผนังเซล,และผิวเซล แม้จะเป็นอนุภาคเล็กมากจนจะเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์อีเล็กตรอน, แต่ก็นับว่าเพียงพอที่จะทำให้ปากเพลี้ย และไร เจาะผิวพืชไม่สะดวก, หนอนวัยหนึ่งกัดพืชแล้วฟันจะสึกจนกัดพืชไม่ได้ ไส้เดือนฝอยเข้าพืชไม่ได้ ราเจริญไม่สะดวก. การดูดน้ำขึ้นทางรากอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใบอ่อนมีการสะสมซิลิกาที่ผิวได้อย่างรวดเร็ว.
6.ลดการสูญเสียปุ๋ย ปรกติปุ๋ยเคมีที่ขายในไทยถูกกำหนดให้ละลายทันทีทั้ง 100 % ดังนั้นถ้าฝนตกมาก, รดน้ำมาก ปุ๋ยละลายออกมาหมด, เมื่อน้ำไหลไปที่อื่นก็พาปุ๋ยไปด้วย ประมาณว่าปุ๋ยอาจถูกชะพาไปถึง 90 % พืชได้ใช้เพียง 10 % แต่เมื่อใส่สารกลุ่มนี้ สารจะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (แค็ทไออ้อนเอ๊กซ์เช้นจ์คาพาซิตี้) ที่สูงมาก. จะจับปุ๋ยประจุบวกไว้ทั้งแอมโมเนียม และโปแตสเซียมให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ถึง 90% และถูกชะพาไปกับน้ำสูญเปล่าเพียง 10 %
7.ทำลายสารพิษในดินและในน้ำ สารพิษตกค้างที่มีผลในการลดการเจริญของพืชมักเป็นสารกำจัดวัชพืช เมื่อใส่ภูไมท์หรือสารในกลุ่มนี้แล้วสารพิษจะถูกทำลายหรือถูกจับตรึงจนออกฤทธิ์ไม่ได้ แม้สารชะลอการเติบโตชองพืช เช่น สารพาโคลบิวทราโซลที่ตกค้างในดินก็ถูกทำลายเช่นกัน จึงทำให้พืชโตดีเป็นปรกติ
8.ช่วยปรับ C:N ratio ให้พืช ดินที่มีไนโตรเจนตกค้างมาก,ละลายน้ำง่าย พืชดูดง่าย ทำให้เจริญทางใบมาก หรือเผือใบ เป็นโรคง่าย ออกดอกยาก ผลแก่ช้า รสฝาด หรืออมเปรี้ยว. ถ้าหว่านภูไมท์หรือไคลน็อพติโลไลท์หรือสารในกลุ่มนี้จะจับไนโตรเจนไว้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า พืชดูดไนโตรเจนได้น้อยลง ทำให้ซีเอ็น เรโช กว้างขึ้น พืชมีสัดส่วนคาร์โบฮัยเดรทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ออกดอกง่าย และผลผลิตคุณภาพดีขึ้น ลดอาการเผือใบได้มาก.
9.เพิ่มคุณภาพผลผลิต จาการมีซิลิก้าที่ผิวพืชมากขึ้นทำให้พืชผัก แข็ง กรอบ อร่อยขึ้น เก็บรอการขายได้นานขึ้น ช้ำน้อย คุณภาพสูงขึ้นแทบทุกด้าน ยกเกรดของสินค้าให้สูงขึ้น ราคาก็ดีขึ้นด้วย. แม้ผลไม้ก็มีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน.
10.ลดแมลงและไส้เดือนฝอยในดิน ใช้ภูไมท์หว่านบาง ๆลงบนดินบริเวณที่มีมด ปลวก เสี้ยนดิน ตัวอ่อนของด้วง หมัดกระโดด ไส้เดือน ไส้เดือนฝอย หอยบก ก็จะลดศัตรูพืชเหล่านี้ให้ลดน้อยลงจนไม่เกิดปัญหาอีก.
11.กรณีที่ใช้ภูไมท์มากเกินไป เนื่องจากภูไมท์และสารในกลุ่มมีคุณสมบัติในการจับปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า. ถ้าใส่ลงดินมากเกินไปจะจับปุ๋ยมากจนไม่พอใช้สร้างความเจริญเติบโตปรกติของพืช. พืชจะแสดงอาการขาดไนโตรเจนมีอาการเหลืองซีด. แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น 46-0-0, 21-0-0, 5-0-0 เป็นต้น ใส่ปุ๋ยและรดน้ำ พืชก็กลับเขียวขึ้นตามเดิม.
12.การใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้ภูไมท์ 1 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน, คลุกผสมแล้วหว่าน กระจายลงผิวดินที่ปลูกพืช, จะได้ผลของภูไมท์ตามที่ต้องการ, ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้ดินดีขึ้นจากการมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้นด้วย.
13.การคลุกเมล็ด ใช้เมล็ดข้าวโพดที่แช่น้ำมาก่อน, เมล็ดข้าวที่หุ้มพอเริ่มงอก,เมล็ดพืชอื่น ๆที่จะปลูก, เอาขึ้นมาทิ้งให้สะเด็ดน้ำ,ยังพอชื้น ๆอยู่ จำนวน 5 ส่วน. เอามาคลุกผสมภูไมท์ 1 ส่วน, แล้วจึงนำไปปลูกตามปรกติ กล้าที่งอกออกมาจะแข็งแกร่งต้านทานต่อเพลี้ย หนอน ไร ราและหอยดีขึ้น.
14.ใช้จับกลิ่นเหม็นจากคอกสัตว์ หว่านซีโอไลท์-สเม็คไทต์ลงบนพื้นคอกและหว่านทับลงบนมูลสัตว์,กลิ่นมูลสัตว์ก็จะถูกจับตรึงไว้จนหมดกลิ่นเหม็น,หว่านเพิ่มเติมอีกเมื่อมีมูลสัตว์เพิ่ม และเริ่มมีกลิ่นอีก. มูลสัตว์เหล่านี้เมื่อนำไปใช้บำรุงดินก็เป็นปุ๋ยที่ดีเป็นพิเศษคือ ไม่มีหนอนและทำให้พืชแข็งแรงโดยไม่ต้องพ่นสารพิษทางการเกษตรอีกด้วย.
15.ใช้ทำลายสารพิษตกค้างในอาหารสัตว์ ผสมภูไมท์ผง 3 ส่วนลงในอาหารสัตว์ 97 ส่วน,ให้สัตว์กินตามปรกติ อัตราการตายของ หมู เป็ด ไก่ ลดลง,มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น. เพราะภูไมท์ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างอยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้หมดพิษไป. ผลพลอยได้คือมูลสัตว์ก็มีกลิ่นเหม็นน้อยลง.
16.ใช้เพิ่มผลผลิตเห็ด ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไตท์ชนิดผง 3 ส่วน, ผสมในขี้เลื่อยหรือวัสดุดิบเพาะเห็ด 97 ส่วน ไม่ต้องใช้จิบซั่มและปูนขาว นำไปเพาะเห็ดตามปรกติ. ส่วนในเห็ดฟางกองเตี้ยนั้นเมื่อเมื่อทำกองเสร็จ ครั้งสุดท้ายแล้ว , ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไตท์ผง 200-300 กรัม

ภูไมท์ซัลเฟต 1

การใช้ ภูไมท์,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์,ซีโอไลท์คาซัคสถาน, ไคลน็อพติโลไลท์และซิลิสิต แอซิด ทางการเกษตร
หินเดือด(ซีโอไลท์) เกิดขึ้นขณะภูเขาไฟพ่นลาวาออกมา ทั้งแบบการระเบิดแบบเขากระโดง ที่บุรีรัมย์,และแบบลาวาไหลออกมาแบบเขาฝาละมี,เขาพนมฉัตร ที่จังหวัดลพบุรี (เมื่อ 22 ล้านปีก่อน). ทำให้มีหินเดือด,หินเบาที่มีโครงสร้างภายในเป็นอลูมิโนซิลิเกตที่มีรูพรุนมากจากการระเหิดไปของน้ำและก๊าซต่าง ๆ ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ลดความดันลงฉับพลันและเย็นลงทันที. รูพรุนเหล่านี้ให้พื้นที่ผิวมากมายมหาศาลต่อหน่วยเล็ก ๆของหินเดือด. พื้นที่แต่ละแห่งซึ่งเกิดภูเขาไฟ มีความแตกต่างด้านหินและแร่ธาตุอย่างมากมาย ทำให้มีซีโอไลท์ซึ่งมีโครงสร้างและส่วนประกอบต่างกันไปมากกว่า 50 อย่าง. ที่ได้ขุดขึ้น บด อัด ร่อนแยก, นำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรแล้วในประเทศไทยก็คือภูไมท์ผง,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ผงและปั้นเม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งผงและเม็ด(เป็นเนื้อโมเดนไนท์)และไคลน็อพติโลไลท์ชนิดปั้นเม็ด. กับที่สกัดแยกมาเฉพาะสารออกฤทธิ์ที่สร้างความแข็งแรงในพืชคือ ซิลิสิค แอซิด การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ของสารดังกล่าวในกลุ่มนี้มีดังนี้.
1.ใช้ฉีดพ่นเพื่อทำให้พืชแข็งแรง ใช้ภูไมท์ผง,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ทั้งผงและเม็ด, ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งอย่างผงและอย่างเม็ด,ไคลน็อพติโลไลท์เม็ดประมาณ 200-300 กรัมละลายในน้ำ 20 ลิตร, กวนให้ละลายหมด,กรองแยกตะกอนไปใส่ต้นไม้,เอาแต่น้ำมาฉีดพ่นพืชให้เปียกทั่วถึงทุกส่วน.หรือให้ซิลิสิค แอซิด 5-10 กรัมละลายน้ำ 20 ลิตร พ่นให้เปียกทั่วพืชฉีดเพียงรอบเดียว. ต้องทดสอบก่อนว่าจะทำให้เกิดใบไหม้หรือเปล่า. ถ้ามีปัญหาให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์ 200-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรแทน การทำดังนี้ทำให้ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้(หรือซิลิซิค แอซิด,หรือ โมโนซิลิค แอซิด,หรือโซลูเบิ้ล ซิลิก้า) ซึมเข้าในเซลพืชที่มีชีวิต แล้วตกผลึกเปลี่ยนรูปเป็นซิลิก้าที่ละลายน้ำไม่ได้, ทำให้เซลผิวพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลแข็งแกร่ง จนเพลี้ย หนอน ไร รา เข้าทำอันตรายได้ยาก. ซึ่งหนอนวัยหนึ่งจะกัดพืชแล้วฟันสึกจนกินพืชไม่ได้ เพลี้ยและไรจะใช้ปากแทงพืชไม่เข้า ส่วนราจะเจริญได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพืชเจริญต่อไปคือมียอดและใบอ่อนหรือส่วนอื่นเจริญออกมาอีก,ส่วนนี้จะขาดซิลิก้าที่ช่วยคุ้มครอง เพราะไม่มีการเคลื่อนย้ายซิลิก้าจากที่ฉีดพ่นไปคราวก่อนเนื่องจากแปรรูปไปแล้ว ถ้ายังใช้วิธีเดิมก็จะต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ แม้จะเป็นผลดี แต่ก็สิ้นเปลืองแรงงานที่มาฉีดพ่นนี้. การใส่สารปลดปล่อยซิลิก้าลงทางดินจะประหยัดแรงงานได้มากกว่า.ส่วนวิธีฉีดพ่นนั้นถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า.เนื่องจากพอฉีดพ่นเสร็จไม่กี่นาทีก็ป้องกันเพลี้ย หนอน ไร รา ได้ทันที, แต่ป้องกันใบที่แตกใหม่ภายหลังไม่ได้.
2.ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก เพื่อให้พืชที่จะปลูกบนดินได้รับซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ทันทีตั้งแต่เริ่มดูดน้ำหรือเริ่มการเจริญ,หรือเริ่มงอก ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ หรือซีโอไลท์คาซัคสถาน หรือไคลน็อพติโลไลท์ หว่านลงผิวดินแล้วพรวนกลบ, หรือหว่านในนาที่ทำเทือกเสร็จแล้วจึงหว่านสาร,ลูบหรือคราดให้จมแล้วจึงหว่านเมล็ด, หรือใส่รองก้นหลุม เคล้ากับดิน หินฟอสเฟต ปุ๋ยอินทรีย์ แล้วจึงปลูกพืชหรือหยอดเมล็ด.
3.ใส่หลังปลูก ใช้วิธีโรยเป็นแถวข้าง ๆ ต้น เช่นข้าวโพด หรือหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มต้นของพืช พืชผักต้นเล็กปลูกติดกันแน่นให้หว่านด้วยชนิดเม็ด เช่น ซีโอไลท์-สเม็คไทต์เม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดเม็ดหรือไคลน็อพติโลไลท์ชนิดเม็ดเป็นต้น.

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552


บริษัท ห้าดาวเคมีภัณฑ์ จำกัด สาขาพิษณุโลก


ผู้จัดจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพราะผลิตโดยมาตรฐาน ISO 14001:2004 ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการนำไปใช้ ด้วยความรับผิดชอบต่อเกษตรกรเสมอมาตามคำขวัญของบริษัทฯที่ว่า ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดมลพิษ เพิ่มกำไร คืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน

สารปรับปรุงดินที่ทางสาขาจัดจำหน่าย


สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรนาข้าวตรารวงทอง
ผสมไคโตซานและฮอร์โมนสาหร่ายบลู-ซีี




สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรพิเศษใช้กับพืชได้ทุกชนิดตรารวงทอง
ผสมไคโตซาน และฮอร์โมนสาหร่ายบลู-ซี




ปุ๋ยอินทรีย์สูตรนาข้าวตราห้าดาวแดง





สารปรับปรุงดินอินทรีย์สูตรพิเศษตราห้าดาวแดง






แร่ธาตุที่สำคัญในการผลิต
  • โดโลไมท์ มีแร่ธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับโครงสร้างดิน ทำให้ดินมีลักษณะฟู ทำให้พืชดึงธาตุอาหารที่มีอยู่บนดิน และ
    ในดินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในการตรึงธาุตุอาหารหลักซึ่ง
    ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารตามธรรมชาติได้อีกด้วย
  • ซีโอไลท์ มีแร่ธาตุซิลิกอน เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยให้ผนังเซลส์ของพืชแข็งแรงขึ้น ทำให้พืชมีความต้านทานโรคแมลง

  • ฮิวมัส ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากซากพืชและสัตว์ มีองค์ประกอบของไฟเบอร์และมี
    ปริมาณของอินทรีย์สารสูง เมื่อนำไปใส่ในดินจะเพิ่มปริมาณอินทรีย์สารที่มีอยู่
    ในดินให้สูงขึ้น
  • ฟอสเฟต(มูลค้างคาว)
    มีแร่ธาตุอาหารหลักประเภทฟอสฟอรัส ซี่งช่วยให้การเจริญเติบโตของรากฝอย
    และรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต และมีส่วนช่วยในการติดดอกออกผล
    ของพืช

    สนใจสอบถามรายละเอียด 085-9248403 วัชระ







ใหม่ สารปรับปรุงดินสูตรยางพาราตราห้าดาวแดง
ช่วยให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย เพิ่มประมาณน้ำยาง