วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภูไมท์ซัลเฟต 1

การใช้ ภูไมท์,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์,ซีโอไลท์คาซัคสถาน, ไคลน็อพติโลไลท์และซิลิสิต แอซิด ทางการเกษตร
หินเดือด(ซีโอไลท์) เกิดขึ้นขณะภูเขาไฟพ่นลาวาออกมา ทั้งแบบการระเบิดแบบเขากระโดง ที่บุรีรัมย์,และแบบลาวาไหลออกมาแบบเขาฝาละมี,เขาพนมฉัตร ที่จังหวัดลพบุรี (เมื่อ 22 ล้านปีก่อน). ทำให้มีหินเดือด,หินเบาที่มีโครงสร้างภายในเป็นอลูมิโนซิลิเกตที่มีรูพรุนมากจากการระเหิดไปของน้ำและก๊าซต่าง ๆ ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ลดความดันลงฉับพลันและเย็นลงทันที. รูพรุนเหล่านี้ให้พื้นที่ผิวมากมายมหาศาลต่อหน่วยเล็ก ๆของหินเดือด. พื้นที่แต่ละแห่งซึ่งเกิดภูเขาไฟ มีความแตกต่างด้านหินและแร่ธาตุอย่างมากมาย ทำให้มีซีโอไลท์ซึ่งมีโครงสร้างและส่วนประกอบต่างกันไปมากกว่า 50 อย่าง. ที่ได้ขุดขึ้น บด อัด ร่อนแยก, นำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรแล้วในประเทศไทยก็คือภูไมท์ผง,ภูไมท์ก้อน,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ผงและปั้นเม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งผงและเม็ด(เป็นเนื้อโมเดนไนท์)และไคลน็อพติโลไลท์ชนิดปั้นเม็ด. กับที่สกัดแยกมาเฉพาะสารออกฤทธิ์ที่สร้างความแข็งแรงในพืชคือ ซิลิสิค แอซิด การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ของสารดังกล่าวในกลุ่มนี้มีดังนี้.
1.ใช้ฉีดพ่นเพื่อทำให้พืชแข็งแรง ใช้ภูไมท์ผง,ซีโอไลท์-สเม็คไทต์ทั้งผงและเม็ด, ซีโอไลท์คาซัคสถานทั้งอย่างผงและอย่างเม็ด,ไคลน็อพติโลไลท์เม็ดประมาณ 200-300 กรัมละลายในน้ำ 20 ลิตร, กวนให้ละลายหมด,กรองแยกตะกอนไปใส่ต้นไม้,เอาแต่น้ำมาฉีดพ่นพืชให้เปียกทั่วถึงทุกส่วน.หรือให้ซิลิสิค แอซิด 5-10 กรัมละลายน้ำ 20 ลิตร พ่นให้เปียกทั่วพืชฉีดเพียงรอบเดียว. ต้องทดสอบก่อนว่าจะทำให้เกิดใบไหม้หรือเปล่า. ถ้ามีปัญหาให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์ 200-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรแทน การทำดังนี้ทำให้ซิลิก้าในรูปที่ละลายน้ำได้(หรือซิลิซิค แอซิด,หรือ โมโนซิลิค แอซิด,หรือโซลูเบิ้ล ซิลิก้า) ซึมเข้าในเซลพืชที่มีชีวิต แล้วตกผลึกเปลี่ยนรูปเป็นซิลิก้าที่ละลายน้ำไม่ได้, ทำให้เซลผิวพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลแข็งแกร่ง จนเพลี้ย หนอน ไร รา เข้าทำอันตรายได้ยาก. ซึ่งหนอนวัยหนึ่งจะกัดพืชแล้วฟันสึกจนกินพืชไม่ได้ เพลี้ยและไรจะใช้ปากแทงพืชไม่เข้า ส่วนราจะเจริญได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพืชเจริญต่อไปคือมียอดและใบอ่อนหรือส่วนอื่นเจริญออกมาอีก,ส่วนนี้จะขาดซิลิก้าที่ช่วยคุ้มครอง เพราะไม่มีการเคลื่อนย้ายซิลิก้าจากที่ฉีดพ่นไปคราวก่อนเนื่องจากแปรรูปไปแล้ว ถ้ายังใช้วิธีเดิมก็จะต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ แม้จะเป็นผลดี แต่ก็สิ้นเปลืองแรงงานที่มาฉีดพ่นนี้. การใส่สารปลดปล่อยซิลิก้าลงทางดินจะประหยัดแรงงานได้มากกว่า.ส่วนวิธีฉีดพ่นนั้นถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า.เนื่องจากพอฉีดพ่นเสร็จไม่กี่นาทีก็ป้องกันเพลี้ย หนอน ไร รา ได้ทันที, แต่ป้องกันใบที่แตกใหม่ภายหลังไม่ได้.
2.ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก เพื่อให้พืชที่จะปลูกบนดินได้รับซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ทันทีตั้งแต่เริ่มดูดน้ำหรือเริ่มการเจริญ,หรือเริ่มงอก ใช้ภูไมท์หรือซีโอไลท์-สเม็คไทต์ หรือซีโอไลท์คาซัคสถาน หรือไคลน็อพติโลไลท์ หว่านลงผิวดินแล้วพรวนกลบ, หรือหว่านในนาที่ทำเทือกเสร็จแล้วจึงหว่านสาร,ลูบหรือคราดให้จมแล้วจึงหว่านเมล็ด, หรือใส่รองก้นหลุม เคล้ากับดิน หินฟอสเฟต ปุ๋ยอินทรีย์ แล้วจึงปลูกพืชหรือหยอดเมล็ด.
3.ใส่หลังปลูก ใช้วิธีโรยเป็นแถวข้าง ๆ ต้น เช่นข้าวโพด หรือหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มต้นของพืช พืชผักต้นเล็กปลูกติดกันแน่นให้หว่านด้วยชนิดเม็ด เช่น ซีโอไลท์-สเม็คไทต์เม็ด,ซีโอไลท์คาซัคสถานชนิดเม็ดหรือไคลน็อพติโลไลท์ชนิดเม็ดเป็นต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น