วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบธาตุอาหาร ระหว่าง ยูเรีย กับ 30

เรามาดูความหมายของสูตรปุ๋ยกันก่อนนะครับเรามาดูความหมายของสูตรปุ๋ยกันก่อนนะครับ
46-0-0 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 46 ส่วน
30-0-0 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 30 ส่วน
18-4-5 หมายความว่า ในปุ๋ย 100 ส่วน มีไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 18 ส่วน
มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 4 ส่วน
และ มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์กับพืชอยู่ 5 ส่วน
เมื่อทราบความหมายแล้วเราลองมาคำนวนธาตุอาหารที่มีอยู่ในกระสอบกันครับ
ในที่นี้จะลองคำนวนปุ๋ย 30-0-0 จากแม่ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) กันนะครับ(ง่ายดี)
จากสูตร น้ำหนักxสูตรธาตุอาหารที่ต้องการ/สูตรแม่ปุ๋ย ก็จะได้ดังนี้
( คิดจากปุ๋ย 1 กระสอบก่อนนะครับ)
50x30/46 = 32.61
ก็หมายความว่า ในปุ๋ย 30-0-0 1 กระสอบ จะมีแม่ปุ๋ยยูเรียอยู่ 32.61 กก.
ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบราคากันนะครับโดยเอา ราคา/จำนวนธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
สมมุติราคายูเรีย อยู่ที่กระสอบละ 630.-บาท และ 30-0-0 อยู่ที่กระสอบละ 480 บาทนะครับ
630/46 = 13.70 บาท
480/30 = 16 บาท

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในปุ๋ยยูเรียมีราคาถูกกว่าถึง กก.ละ 3.30 บาท
ฉะนัี้้น ราคาของ 30-0-0 มีราคาแพงกว่าถึงกระสอบละ 3.30x50 = 165 บาท
คิดดูละกัน

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาการขาดธาตุอาหารของพืช

ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีน ฮอร์โมน คลอโรฟิลล์ ไวตามินและเอนไซม์ ซึ่งทั้งหมดจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช กระบวนการ metabolize ของไนโตรเจนทำให้เกิดการพัฒนาในส่วนของต้นและใบ และการมีปริมาณไนโตรเจนที่มากเกินไปสามารถยืดระยะการออกดอกและการสุกแก่ของผลออกไป หากพืชขาดไนโตรเจนผลผลิตจะลดลง ใบเหลือง การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
ฟอสฟอรัส มีความสำคัญอย่างมากต่อการงอกของเมล็ด กระบวนการสังเคราะห์แสง การสร้างโปรตีน และยังควบคุมภาพโดยรวมของการพัฒนาการเจริญเติบโตและกระบวนการ metabolism หน้าที่สำคัญคือการพัฒนาการฟอร์มดอกและผล อาการขาดสังเกตจากลำต้นและใบเปลี่ยนเป็นสีม่วง ความสุกแก่ช้าออกไป คุณภาพดอกและผลไม่ดี ผลและดอกอาจร่วงหรือไม่พัฒนา การให้ฟอสฟอรัสควรใส่ตรงไปที่บริเวณใกล้รากพืช ระวังการให้ฟอสฟอรัสมากเกินไป เพราะอาจกดให้พืชแสดงอาการขาดสังกะสี
โปแทสเซียม จำเป็นต่อการสร้างน้ำตาล แป้ง การสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งเซลรากและส่วนอื่นๆ โปแทสเซียมเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของน้ำ ความแข็งแรงของพืช และมีผลต่อสีและรสชาติของผักผลไม้ เพิ่มปริมาณน้ำมันในผลไม้ หากขาดโปแทสเซียม พืชจะให้ผลผลิตต่ำ ใบมีจุด ม้วนงอหรือมีรอยไหม้

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปุ๋ยสั่งตัด

ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร?

การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืช ที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ คำแนะนำปุ๋ยแบบ “สั่งตัด” จะมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และ ชุดดินมโนรมย์ไม่เท่ากันแม้ปริมาณ เอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน กรณีของข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ของชุดดินปากช่อง จ. นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ. ลพบุรี เป็นต้น

การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว และ ข้าวโพดได้อย่างไร และ เท่าใด?

จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง ที่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอีกหลายแห่ง พบว่า ชาวนาใส่ปุ๋ย เอ็น และ พี ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของต้นข้าว และ ละเลยการใส่ปุ๋ย เค เมื่อเกษตรกรทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง 241 บาท (เมื่อคิดราคาปุ๋ยเดือนมกราคม 2550) ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาท รวมต้นทุนการปลูกข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก ถ้าชาวนาภาคกลางในพื้นที่ 10 ล้านไร่ (ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง) ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” จะทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนชาวไร่ข้าวโพดจะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 และ ผลตอบแทนสูงขึ้นอีกร้อยละ 41 เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”